วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างของภาษา php


PHP คืออะไร
ในช่วงแรกภาษาที่นิยมใช้งานบนระบบเครือข่าย คือ ภาษา HTML (Hypertext Markup Language) แต่ภาษา HTML มีลักษณะเป็น Static คือ ภาษาที่มีลักษณะของข้อมูลคงที่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบันที่นิยมใช้ระบบเครือข่าย Internet เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างกัน ทำให้ต้องการใช้เว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแบบ Dynamic คือ เว็บไซต์ที่ข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยอัตโนมัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ผู้เขียนเว็บไซต์เป็นผู้กำหนด และการควบคุมการทำงานเหล่านี้จะกระทำโดยโปรแกรมภาษาสคริปต์ เช่น ภาษา PHP ซึ่งเป็นภาษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

PHP ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1994 โดย Rasmus Lerdorf ต่อมามีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จึงได้ออกเป็นแพ็คเกจ "Personal Home Page" ซึ่งเป็นที่มาของ PHP โดยภาษา PHP เป็นแบบ Server Side Script และเป็น Open Source ที่ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาวน์โหลด Source Code และโปรแกรมไปใช้ฟรี ได้ที่ http://www.php.net

พอกลางปี ค.ศ.1995 เขาก็ได้พัฒนาตัวแปลภาษา PHP ขึ้นมาใหม่ โดยใช้ชื่อว่า PHP/FI เวอร์ชั่น 2 ซึ่งได้เพิ่มความสามารถในการรับข้อมูลที่ส่งมาจากฟอร์มของ HTML (จึงมีชื่อว่า FI หรือ Form Interpreter) นอกจากนั้นยังเพิ่มความสามารถในการติดต่อกับฐานข้อมูลอีกด้วย จึงทำให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจ PHP กันมากขึ้น

ในปี 1997 มีผู้ร่วมพัฒนา PHP เพิ่มอีก 2 คน คือ Zeev Suraski และ Andi Gutmans (กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Zend ซึ่งย่อมาจาก Zeev และ Andi ) โดยได้แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และเพิ่มเติมเครื่องมือให้มากขึ้น


โครงสร้างของภาษา PHP
ภาษา PHP มีลักษณะเป็น embedded script หมายความว่าเราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจร่วมกับคำสั่ง(Tag) ของ HTML ได้ และสร้างไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น .php, .php3 หรือ .php4 ซึ่งไวยากรณ์ที่ใช้ใน PHP เป็นการนำรูปแบบของภาษาต่างๆ มารวมกันได้แก่ C, Perl และ Java ทำให้ผู้ใช้ที่มีพื้นฐานของ

ภาษาเหล่านี้อยู่แล้วสามารถศึกษา และใช้งานภาษานี้ได้ไม่ยาก

ตัวอย่างที่ 1
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
<html>
<head>
<title>Example 1 </title>
</head>
<body>

<?
   echo"Hi, I'm a PHP script!";
?>

</body>
</html>



จากตัวอย่าง บรรทัดที่ 6 - 8 เป็นส่วนของสคริปต์ PHP ซึ่งเริ่มต้นด้วย <? ตามด้วยคำสั่งที่เรียกฟังก์ชั่นหรือข้อความ และปิดท้ายด้วย ?> สำหรับตัวอย่างนี้เป็นสคริปต์ที่แสดงข้อความว่า "Hi, I'm a PHP script" โดยใช้คำสั่ง echo ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผลของภาษาสคริปต์ PHP ซึ่งจะแสดงผลดังนี้ เราสามารถฝังคำสั่ง PHP ไว้ในเว็บเพจหนึ่งๆ โดยเปิดและปิดด้วยแท็ก(Tag) ของ PHP กี่ครั้งก็ได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้


ตัวอย่างที่ 2
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
<html>
<head>
<title>Example 1 </title>
</head>
<body>

<table border=1>
<tr>
<td>
<? echo"PHP script block 1"; ?></td>
<td>
<? echo"PHP script block 2 "; ?></td>
</tr>
</table>

<?
   echo"PHP script block 3 <br> ";
   echo date("ขณะนี้เวลา H:i น.");
?>

</body>
</html>

ความสามารถของภาษา PHP


เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นแบบ Open source ผู้ใช้สามารถ Download และนำ Source code ของ PHP ไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

เป็นสคริปต์แบบ Server Side Script ดังนั้นจึงทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ไม่ส่งผลกับการทำงานของเครื่อง Client โดย PHP จะอ่านโค้ด และทำงานที่เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นจึงส่งผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาที่เครื่องของผู้ใช้ในรูปแบบของ HTML ซึ่งโค้ดของ PHP นี้ผู้ใช้จะไม่สามารถมองเห็นได้

PHP สามารถทำงานได้ในระบบปฎิบัติการที่ต่างชนิดกัน เช่น Unix, Windows, Mac OS หรือ Risc OS อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก PHP เป็นสคริปต์ที่ต้องทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นคอมพิวเตอร์สำหรับเรียกใช้คำสั่ง PHP จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ด้วย เพื่อให้สามารถประมวลผล PHP ได้

PHP สามารถทำงานได้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายชนิด เช่น Personal Web Server(PWS), Apache, OmniHttpd และ Internet Information Service(IIS) เป็นต้น

ภาษา PHP สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming)

PHP มีความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูลที่สนับสนุนการทำงานของ PHP เช่น Oracle, MySQL, FilePro, Solid, FrontBase, mSQL และ MS SQL เป็นต้น

PHP อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างเว็บไซต์ซึ่งทำงานผ่านโปรโตคอลชนิดต่างๆ ได้ เช่น LDAP, IMAP, SNMP, POP3 และ HTTP เป็นต้น

โค้ด PHP สามารถเขียน และอ่านในรูปแบบของ XML ได้

ที่มา  http://www.mwit.ac.th/~jeab/40201/ch3.php

IP address



IP Address คืออะไร

IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ TCP/IP

ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น โดยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP Address นั้น อยู่ใน class อะไร

เหตุที่ต้องมีการแบ่ง class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว) นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10 ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ? 011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ? 110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126

สำหรับตัวเลขตั้งแต่ 224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ อย่างเช่น Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ โดย Class D และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ


ตัวอย่าง IP Address

Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx

Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx

Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx


จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer 2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte)

วิธีตรวจสอบ IP Address

1.คลิกปุ่ม Start เลือก Run

2.พิมพ์คำว่า cmd กดปุ่ม OK

3.จะได้หน้าต่างสีดำ

4.พิมพ์คำว่า ipconfig กด enter

5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข IP Address



ที่มา http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2071-ip-address-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

รูปแบบของตัวอักษร



ในบทนี้ เราจะมาทราบถึงวิธีการทำแบบตัวอักษรหลาย ๆ แบบ เช่น ตัวหนา ตัวเอน ตัวใหญ่ ตัวเล็ก
ซึ่งลักษระต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เว็บเพจ ของเราสวยงามยิ่งขึ้น

หัวเรื่อง
รูปแบบ <Hx>ข้อความ</Hx>
ตัวอย่าง <H1>หัวข้อใหญ่สุด</H1>ในการกำหนดขนาดให้หัวเรื่องนั้นมีการกำหนด ไว้ 6 ระดับตั้งแต่ 1 - 6 โดย x แทนตัวเลขแต่ละลำดับโดย H1 มีขนาดใหญ่ที่สุด H6 เล็กที่สุดเมื่อต้องการใช้หัวเรื่องที่มีขนาดตัวอักษรเท่าใดเขียนอยู่ระหว่าง <Hx>....</Hx>

ขนาดตัวอักษร
รูปแบบ <FONT SIZE=x>ข้อความ</FONT>
ตัวอย่าง <FONT SIZE=2>bcoms.net</FONT>เราสามารถกำหนดขนาดของตัวอักษรให้แตกต่างกันได้ ภายในบรรทัดเดียวกัน โดยเราใช้ <FONT SIZE=value> มากำหนด โดยที่ value เป็นตัวเลขแสดงขนาด ตัวอักษร 7 ขนาด ตัวเลขยิ่งมาก ยิ่งมีขนาด ใหญ่ ตั้งแต่ -7 ไปจนถึง +7

ตัวหนา (Bold)
รูปแบบ <B>ข้อความ</B>
ตัวอย่าง <B>bcoms.net</B>จะทำให้ข้อความที่อยู่ใน <B>....</B> มีความหนาเกิดขึ้น เช่น bcoms.net

ตัวเอน (Itatic)
รูปแบบ <I>ข้อความ</I>
ตัวอย่าง <I>bcoms.net</I>ทำให้ข้อความที่อยู่ใน<I>....</I> เกิดเป็นตัวเอนขึ้น เช่น bcoms.net

ตัวขีดเส้นใต้ (Underline)
 รูปแบบ <U>ข้อความ</U>
ตัวอย่าง <U>bcoms.net</U>ทำให้ข้อความที่อยู่ใน <U>.....<U> มีเส้นขีดอยู่ใต้ตัวอักษรเกิดขึ้น เช่น bcoms.net

ตัวอักษรมีขนาดคงที่ (Typewriter text)
รูปแบบ <TT>ข้อมความ</TT>
ตัวอย่าง <TT>bcoms.net</TT>ทำให้ ข้อความ ที่อยู่ใน<TT>.....</TT> มีลักษณะเป็น fixed space เกิดขึ้น เช่น bcoms.net

แบบของตัวอักษร
รูปแบบ <FONT FACE="font name>ข้อความ</FONT>
c <FONT FACE="AngsanaUPC">bcoms.net</FONT>Font name เป็นชื่อของ Font ที่เราต้องการให้เป็น เช่น <FONT FACE="AngsanaUPC"> bcoms.net</FONT> และเราสามารถใส่ชื่อ Font หลาย ๆ ตัวได้เพื่อบางครั้ง Browser ไม่มี Font ตามต้องการโดยให้คั้นด้วยตัว (,)

ขนาด Font ทั้งเอกสาร
รูปแบบ Basefont size="X">
ตัวอย่าง <Basefont size=3>
เป็นการกำหนดขนาดของตัวอักษรในโฮมเพจให้มีขนาด เท่ากันทั้งเอกสาร เพื่อสะดวกเราจะได้ไม่ต้องกำหนดบ่อย ๆ ปกติแล้วจะกำหนดขนาดเป็น 3 โดยไม่ต้องมีตัวปิดเหมือนคำสั่งอื่น ๆ (X แทนตัวเลข)

ตัวอักษรแบบพิเศษ 
รูปแบบ
< แทนด้วย &lt;
> แทนด้วย &gt;
& แทนด้วย &amp;
" แทนด้วย &quot;

เว้นวรรค แทนด้วย &nbsp;ตัวอย่างเช่น &quot;bcoms.net&quot; จะเป็น "bcoms.net"



ที่มา https://sites.google.com/site/hellomysitebylooknamkampong/hnwy-thi-1-khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-webphec/baeb-thdsxb-kxn-reiyn-hnwy-thi-1/khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-xinthexrnet/khorngsrang-phun-than-khxng-html

การเติมสีสันให้เอกสาร

ผลการแสดง ที่เกิดขึ้น บน เว็บเพจ เราจะพบว่าเอกสาร ทั่วไปแล้วตัวอักษร ที่ปรากฎ บนจอภาพ จะเป็น ตัวอักษรสีดำ
บนพื้น สีเทา ถ้าเรา ต้องการ ที่จะ เปลี่ยนสี ของตัวอักษร หรือ สีของ จอภาพ เราสามารถ ทำ ได้โดย การกำหนด แอตทริบิวต์ (Attribute) ของตัวอักษร สิ่งที่ต้องการนี้ จะเป็น กลุ่มตัว เลขฐาน 16 จำนวน 3 ชุด โดยชุดที่ หนึ่ง ทำหน้าที่ แทนค่าสีแดง ชุดที่สอง ทำหน้าที่ แทนสีเขียว และชุดที่สาม ทำหน้าที่แทนสี น้ำเงิน ข้อมูล ในตาราง ต่อไปนี้จะแสดง สีพื้นฐาน และรหัสสี ที่สามารถแสดงได้ทุกเว็บเพจ
สี
รหัสสี
ขาว
#FFFFFF
ดำ
#000000
เทา
#BBBBBB
แดง
#FF0000
เขียว
#00FF00
น้ำเงิน
#0000FF

ในบางครั้งถ้าเราไม่ต้องการใส่รหัสสีเป็นเลขฐานเราก็สามารถใส่ชื่อ สีลงไปได้เลย ตัวอย่างต่อไปนี้
แสดงชื่อสีที่ Internet Explorer สนับสนุนแต่ Netscape ไม่สนับสนุน

AQUA
BULE
GRAY
LIME
NAVY
PURPLE
SILVER
WHITE
BLACK
FUCHSIA
GREEN
MAROON
OLTVE
RED
TEAL
YELLOW
 


สีของพื้นฉากหลัง
รูปแบบ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ
ตัวอย่าง <BODY BGCOLOR="#FF0000">
เราใช้ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ ให้เป็นส่วนหนึ่งของ <BODY> ซึ่งจะทำให้เกิดสีตามที่เราเลือก ลักษณะเป็นฉากสีอยู่ข้างหลัง

สีของตัวอักษรบนเว็บ
รูปแบบ Text=#รหัสสี
ตัวอย่าง <BODY TEXT="#00FF00">
เรากำหนดเช่นเดียวกับการทำสีของพื้นฉากหลังโดยให้เป็นส่วน หนึ่งของ <BODY> แต่ในการใส่รหัสสีนั้นเร าต้องดู ให้เหมาะสมกับฉากหลังด้วยเช่น <BODY TEXT="#00FF00"> ในการ ทำสีของ ตัวอักษรนี้สีจะปรากฎบนเว็บเปราเซอร์ เป็นสีเดียวตลอด




สีของตัวอักษรเฉพาะที่
รูปแบบ <FONT COLOR="#สีที่ต้องการ">...</FONT>
ตัวอย่าง <font color="#FF0000">สีแดง</font>
คำสั่งนี้เราใช้ในการเปลี่ยนสีของตัวอักษรในส่วนที่เราต้องการให้เกิดสีสันแตกต่างไปจากสีตัวอักษร อื่น ๆ เช่น <FONT COLOR="#FF0000">สีแดง</FONT>ตัวหนังสือคำว่าสีแดงก็จะเป็นสีแดงตามที่เราต้องการทันที



สีของตัวอักษรที่เป็นจุดคลิกเมาส์
รูปแบบ LINK="#รหัสสี" ALINK="#รหัสสี" VLINK"#รหัสสี"
ตัวอย่าง <BODY BGCOLOR="000000" TEXT="#F0F0F0" LINK="#FFFF00" ALIGN="#0077FF" VLINK="#22AA22">
กำหนดอยู่ในส่วนของ BODY โดยกำหนดให้
LINK = สีของตัวอักษรก่อนมีการคลิก
ALIGN = สีของตัวอักษรขณะถูกคลิก
VLINK = สีของอักษรหลังจากคลิกแล้ว

ตัวอย่างรหัสสี 
Aliceblue
F0F8FF
Antiquewhite
FAEBD7
Aqua
00FFFF
Aquamarine
7FFFD4
Azure
F0FFFF
Beige
F5F5DC
Bisque
FFE4C4
Black
000000
Blanchedalmond
FFEBCD
Blue
0000FF
Blueviolet
8A2BE2
Brown
A52A2A
Burlywood
DEB887
Cadetblue
5F9EA0
Chartreuse
7FFF00
Chocolate
D2691E
Coral
FF7F50
Cornflowerblue
6495ED
Cornsilk
FFF8DC
Crimson
DC143C
Cyan
00FFFF
Darkblue
00008B
Darkcyan
008B8B
Darkgoldenrod
B8860B
Darkgray
A9A9A9
Darkgreen
006400
Darkkhaki
BDB76B
Darkmagenta
8B008B
Darkolivegreen
556B2F
Darkorange
FF8C00
Darkorchid
9932CC
Darkred
8B0000
Darksalmon
E9967A
Darkseagreen
8FBC8F
Darkslateblue
483D8B
Darkslategray
2F4F4F
Darkturquoise
00CED1
Darkviolet
9400D3
deeppink
FF1493
Deepskyblue
00BFFF
Dimgray
696969
Dodgerblue
1E90FF
Firebrick
B22222
Floralwhite
FFFAF0
Forestgreen
228B22
Fuchsia
FF00FF
Gainsboro
DCDCDC
Ghostwhite
F8F8FF
Gold
FFD700
Goldenrod
DAA520
Gray
808080
Green
008000
Greenyellow
ADFF2F
Honeydew
F0FFF0
Hotpink
FF69B4
Indianred
CD5C5C
Indigo
4B0082
Ivory
FFFFF0
Khaki
F0E68C
Lavendar
E6E6FA
Lavenderblush
FFF0F5
Lawngreen
7CFC00
Lemonchiffon
FFFACD
Lightblue
ADD8E6
Lightcoral
F08080
Lightcyan
E0FFFF
Lightgoldenrodyellow
FAFAD2
Lightgreen
90EE90
Lightgrey
D3D3D3
Lightpink
FFB6C1
Lightsalmon
FFA07A
Lightseagreen
20B2AA
Lightskyblue
87CEFA
Lightslategray
778899
Lightsteelblue
B0C4DE
Lightyellow
FFFFE0
Lime
00FF00
Limegreen
32CD32
Linen
FAF0E6
Magenta
FF00FF
Maroon
800000
Mediumauqamarine
66CDAA
Mediumblue
0000CD
Mediumorchid
BA55D3
Mediumpurple
9370D8
Mediumseagreen
3CB371
Mediumslateblue
7B68EE
Mediumspringgreen
00FA9A
Mediumturquoise
48D1CC
Mediumvioletred
C71585
Midnightblue
191970
Mintcream
F5FFFA
Mistyrose
FFE4E1
Moccasin
FFE4B5
Navajowhite
FFDEAD
Navy
000080
Oldlace
FDF5E6
Olive
808000
Olivedrab
688E23
Orange
FFA500
Orangered
FF4500
Orchid
DA70D6
Palegoldenrod
EEE8AA
Palegreen
98FB98
Paleturquoise
AFEEEE
Palevioletred
D87093
Papayawhip
FFEFD5
Peachpuff
FFDAB9
Peru
CD853F
Pink
FFC0CB
Plum
DDA0DD
Powderblue
B0E0E6
Purple
800080
Red
FF0000
Rosybrown
BC8F8F
Royalblue
4169E1
Saddlebrown
8B4513
Salmon
FA8072
Sandybrown
F4A460
Seagreen
2E8B57
Seashell
FFF5EE
Sienna
A0522D
Silver
C0C0C0
Skyblue
87CEEB
Slateblue
6A5ACD
Slategray
708090
Snow
FFFAFA
Springgreen
00FF7F
Steelblue
4682B4
Tan
D2B48C
Teal
008080
Thistle
D8BFD8
Tomato
FF6347
Turquoise
40E0D0
Violet
EE82EE
Wheat
F5DEB3
White
FFFFFF
Whitesmoke
F5F5F5
Yellow
FFFF00
YellowGreen
9ACD32


ที่มา  https://sites.google.com/site/hellomysitebylooknamkampong/hnwy-thi-1-khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-webphec/baeb-thdsxb-kxn-reiyn-hnwy-thi-1/khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-xinthexrnet/khorngsrang-phun-than-khxng-html

โครงสร้างพื้นฐานของ HTML


โครงสร้างของ HTML จะประกอบไปด้วยส่วนของคำสั่ง 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น ส่วนหัว (Head) และส่วนที่เป็นเนื้อหา (Body)
โดยมีรูปแบบคำสั่งดังนี้




การจัดโครงสร้างแฟ้มเอกสาร
ในความง่ายของภาษา HTML นั้นเพราะภาษานี้ไม่มีโครงสร้างใด ๆ มากำหนดนอก จากโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น
หรือ แม้แต่จะไม่มีโครงสร้าง พื้นฐานอยู่ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมานั้นก็สามารถทำงานได้เสมือนมี โครงสร้างทั่งนี้เป็นเพราะว่าตัวโปรแกรม
เว็บเบราเซอร์ จะมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโปรแกรม HTML เป็นส่วนเนื้อหาทั้งสิ้น
ยกเว้นใน ส่วนหัว ที่ต้อง มีการกำหนด แยกออกไปให้ เห็นชัดเท่านั้น จะเขียน คำสั่ง หรือ ข้อความที่ ต้องการ ให้แสดง อย่างไรก็ได้
เป็นเสมือนพิมพ์งานเอกสารทั่ว ๆ ไปเพียง แต่ ทำตำแหน่ง ใดมีการ ทำตำแหน่ง พิเศษขึ้นมา เว็บเบราเซอร์ถึงจะแสดงผล ออกมาตามที่
ถูกกำหนด โดยใช้คำสั่งให้ตรงกับ รหัสที่กำหนดเท่านั้น


การแสดงผลที่เว็บเบราเซอร์
หลังจากมีการพิมพ์โปรแกรมนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้บันทึกเป็น ไฟล์ที่มีนามสกุล .htm หรือ .html จากนั้นให้เรียกโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ขึ้นมาทำการทดสอบ ข้อมูลที่เราสร้างจะถูก นำมาที่ออกมาแสดงที่จอภาพ ถ้าไม่เขียนอะไรผิด บนจอภาพก็จะแสดงผลตามนั้น
ถ้าเรามีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในโปรแกรมเดิม ให้อยู่ในรูปของ โปรแกรมใหม่ ก็จำ เป็นต้องโหลดโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เพียงแต่เลื่อนเมาส์
ไปคลิกที่ปุ่ม Refresh โปรแกรมก็จะทำการ ประมวลผลและแสดงผลออกมาใหม่ ในคำสั่ง HTML ส่วนใหญ่ใช้ตัวเปิด เป็นเครื่องหมายน้อยกว่า
< ตามด้วยคำสั่ง และปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า > และมีตัวปิดที่มีรูปแบบเหมือนตัวเปิดเสมอ เพียงแต่จะมีเครื่อง หมาย / อยู่หน้าคำสั่งนั้นๆ เช่น คำสั่ง <BODY> จะมี </BODY> เป็นคำสั่งปิด เมื่อใดที่ผู้เขียนลืมหรือพิมพ์คำสั่งผิด จะส่งผลให้การทำงานของโปรแกรมผิดพลาดทันที


คำสั่งเริ่มต้นสำหรับ HTML
คำสั่งหรือ Tag ที่ใช้ในภาษา HTML ประกอบไปด้วยเครื่องหมายน้อยกว่า <ตามด้วย ชื่อคำสั่งและปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า
> เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตกแต่งข้อความ เพื่อ การแสดงผลข้อมูล โดยทั่วไปคำสั่งของ HTML ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นคู่ มีเพียงบาง คำสั่งเท่านั้น
ที่มีรูปแบบคำสั่งอยู่เพียงตัวเดียว ในแต่ละคำสั่ง จะมีคำสั่งเปิดและปิด คำสั่งปิดของแต่ละ คำสั่งจะมี รูปแบบเหมือนคำสั่งเปิด เพียงแต่จะเพิ่ม /
(Slash) นำหน้าคำสั่ง ปิดให้ดู แตกต่าง เท่านั้น และในคำสั่งเปิดบางคำสั่ง อาจมีส่วนขยายอื่นผสมอยู่ด้วย ในการเขียน ด้วยตัวอักษร
เล็กหรือใหญ่ ทั้งหมดหรือเขียนปนกันก็ได้ ไม่มีผลอะไร


คำสั่งเริ่มต้น
รูปแบบ <HTML>.....</HTML>
คำสั่ง <HTML> เป็นคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม และ </HTML>เป็นคำสั่งจุดสิ้นสุดโปรแกรมเหมือนคำสั่ง Beign และ End ใน Pascal


คำสั่งการทำหมายเหตุ
รูปแบบ <!-- ..... -->
ตัวอย่าง <!-- END WEBSTAT CODE --> ข้อความที่อยู่ในคำสั่งจะปรากฎอยู่ในโปรแกรมแต่ไม่ถูกแสดง บนจอภาพ


ส่วนหัว
รูปแบบ <HEAD>.....</HEAD>
ใช้กำหนดข้อความ ในส่วนที่เป็น ชื่อเรื่อง ภายในคำสั่งนี้ จะมีคำสั่งย่อย อีกหนึ่งคำสั่ง คือ <TITLE>


กำหนดข้อความในไตเติลบาร์
รูปแบบ <TITLE>.....</TITLE>
ตัวอย่าง <TITLE> บทเรียน HTML </TITLE>
เป็นส่วนแสดงชื่อของเอกสาร จะปรากฎ ขณะที่ไฟล์ HTML ทำงานอยู่ ข้อความ ที่กำหนด ในส่วนนี้ จะไม่ถูกนำไปแสดง ผลของ เว็บเบราเซอร์แต่จะปรากฎในส่วนของไตเติบาร์ (Title bar) ที่เป็นชื่อของวินโดว์ข้างบนไม่ควรให้ยา เกินไป เพียงให้รู้ว่าเว็บเพจที่กำลัง ใช้งานอยู่เกี่ยวข้องกับอะไร



ส่วนของเนื้อหา
รูปแบบ <BODY>.....</BODY>
ส่วนเนื้อหาของโปรแกรมจะเริ่มต้นด้วย คำสั่ง <BODY> และจบลงด้วย </BODY> ภายในคำสั่งนี้ คือ ส่วนที่จะ แสดงทางจอภาพ

ที่มา  https://sites.google.com/site/hellomysitebylooknamkampong/hnwy-thi-1-khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-webphec/baeb-thdsxb-kxn-reiyn-hnwy-thi-1/khwam-ru-beuxng-tn-keiyw-kab-xinthexrnet/khorngsrang-phun-than-khxng-html

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

การสร้างเว็ปไซต์


การทำเว็บแบบง่ายๆ



บทความนี้เราจะมาลองทำเว็บไซต์กัน โดยการทำเว็บไซต์ในบทความนี้จะเป็นแบบพื้นฐานเพื่อให้คุณได้เข้าใจถึงการทำงานของเว็บไซต์ ซึ่งเราจะใช้โปรแกรม notepad ซึ่งจะมีอยู่ในทุกเครื่องที่ใช้ระบบ window




โปรแกรม notepad เป็นโปรแกรมที่อยู่ในประเภท Text editor ใช้ในการแก้ไขข้อความ มีความสำคัญมากในการทำเว็บไซต์ เพราะจริงๆแล้วเว็บไซต์ที่เราเห็นว่ามีหน้าตาสวยงาม มีรูปภาพ หรือมีการเคลื่อนไหวต่างๆ ซึ่งจริงๆแล้วตัวเว็บไซต์นั้นก็ประกอบด้วย ตัวหนังสือมากมายรวมกันอยู่เป็นไฟล์(เราจะเรียกว่าเว็บเพจ) แต่มีการถูกแปลงที่เครื่องของคุณให้เป็นรูป หรือหน้าตาตามที่เราเห็น




ซึ่งในบทนี้เรามาลองทำเว็บเพจดู ขั้นตอนตามนี้




1.ให้คุณเปิดโปรแกรม Notepad ขึ้นมา โดยไปที่ All programs > Accessories > Notepad









ซึ่งโปรแกรม notepad จะมีหน้าตาแบบนี้









2. ให้คุณพิมพ์ข้อความต่อไปนี้ ใน notepad



<html>

<head>

<title>ทดลองทำเว็บไซต์แบบง่ายๆ</title>

</head>

<body>

Hellomyweb นี่คือเว็บไซต์แรกของฉัน

</body>

</html>









ข้อความที่คุณพิมพ์ไปนั้นเราเรียกว่า SOURCE CODE เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ เรียกว่าภาษา HTML ซึ่งใช้ในการจัดหน้าของเว็บเพจ คุณสามารถศึกษารายละเอียดของภาษา html ได้ที่หัวข้อของ html




เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้เราเลือก save as จะมีหน้าต่างออกมา ให้เราใส่ชื่อไฟล์เป็น index.html และเลือกชนิดไฟล์ (save as type) เป็นแบบ All files จากนั้นก็ save ไฟล์









เราจะได้ไฟล์มาดังรูปข้างล่าง ให้เราคลิกเพื่อเปิดไฟล์ index.html เราก็จะเห็นเว็บไซต์แรกของเรา ซึ่งจะถูกเปิดโดยโปรแกรม internet explorer (ต่อไปนี้เราจะเรียกว่า Web Browser)









จากรูปจะบรรยายการทำงานของ html ที่เขียนเอาไว้ ซึ่งจะเห็นว่าตัวหนังสือที่อยู่ใน <title>....</title> จะแสดงที่ส่วนหัวของโปรแกรม internet explorer และในส่วนของ <body>....</body> จะแสดงในส่วนแสดงผลของโปรแกรม




เราก็ได้เห็นเว็บไซต์ที่เราทำเองไปแล้ว ซึ่งในบางเครื่องที่ลองทำเว็บอาจมีปัญหาได้ เราจะมาลองดูว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร




1.เปิดไฟล์ไม่ได้ ให้เราลองเปิดโดยวิธีนี้แทน




เปิดโปรแกรม internet explorer ไปที่ file > open > browse เลือกไฟล์ที่ เรา save และกดที่ open









2.เปิดแล้วเป็นภาษาต่างดาว อ่านไม่ออก จากรูปให้เราไปที่ file > view > encoding > thai









หลังจากที่เราลองเขียน sorce code ไปแล้ว เราจะลองไปดูเว็บไซต์อื่นกันบ้างว่าเค้าเขียน source code กันอย่างไร ซึ่งการดู sorce code ของเว็บไซต์อื่นก็ทำได้โดย คลิกขวาที่เว็บที่เรากำลังดูอยู่ เลือก view soure










ที่มา http://www.hellomyweb.com/index.php/main/content/1

โดเมนเนม

ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name) คืออะไร



โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่าย
ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันที
โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร


โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ


ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ




โดนเมนเนม 2 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้


* .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
* .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
* .edu คือ สถาบันการศึกษา
* .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
* .mil คือ องค์กรทางทหาร

โดนเมนเนม 3 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th


ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ


* .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .ac คือ สถาบันการศึกษา
* .go คือ องค์กรของรัฐบาล
* .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
* .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร


ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร


* .th คือ ประเทศไทย
* .cn คือ ประเทศจีน
* .uk คือ ประเทศอังกฤษ
* .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
* .au คือ ประเทศออสเตรเลีย



โดนเมนเนม ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับเว็บไซต์นั้นๆ โดยเฉพาะกับการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ท ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วนั้น จะทำให้โดเมนเนม หรือ เว็บไซต์นั้นๆ จะได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ง่ายไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือ
กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดมเนมเท่านั้นยังรวมไปถึง Search Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google Yahoo MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาทำ index กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา


หลังจากจดโดนเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญลำดับถัดมานั้นก็คือ โฮสติ้ง (Hosting) หรือ ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเรานั้นเอง ซึ่งโฮสติ้งแต่ละที่จะมี DNS หรือ Name Server ที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง จะเป็นคนกำหนดและแจ้งให้เราทราบเพื่อเอาไปใส่ให้โดมเมเนมของเรา
เช่น DNS ของ B2C Creation จะมีชื่อว่า NS1.B2CCREATION.COM และ NS2.B2CCREATION.COM ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้
เพราะถ้าคุณจด Domain Nameและใช้บริการโฮสติ้งกับผู้ให้บริการคนเดียวกันจะไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ หรือแม้ว่าจะเป็นคนละคนกัน เพียงแค่นำ DNS ที่ได้ ไประบุให้กับโดเมนเนมนั้นตามที่ได้อธิบายไปแล้ว








ที่มา http://www.b2ccreation.com/content/knowledgebase/kb_view.asp?kbid=19